เมนู

3. นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย
4. นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุธรรมที่เป็นเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
5. นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุธรรมที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย

3. อธิปติปัจจัย


[261] 1. นเหตุธรรมที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุ-
ธรรมที่เป็นเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ.
4. นเหตุธรรมที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่
นเหตุธรรมที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ.
7. นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย มี 3 วาระ.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[262] ในอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
ในอนันตรปัจจัย มี 8 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 8 วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ ในนิสสยปัจจัย มี 13 วาระ ใน
อุปนิสสยปัจจัย มี 8 วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี 13 วาระ.

ปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[263] ในนเหตุปัจจัย มี 14 วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี 14 วาระ
ฯลฯ

อนุโลมปัจจนียนัย


[264] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี 5 วาระ... ฯลฯ

ปัจจนียานุโลมนัย


[265] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ... ฯลฯ
แม้ปัญหาวาระในกุสลติกะฉันใด พึงให้พิสดารฉันนั้น.
เสกขติกเหตุทุกะ จบ